อันตรายจากไฟฟ้า


 อุบัติเหตุจากไฟฟ้าที่พบบ่อย

1. เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว และบริเวณนั้นมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น

2. การถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะทำอันตรายต่อการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

1. ต้องนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด

โดยต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดจากผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น ห้ามเข้าไปช่วยเพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้ 
เมื่อพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน สำหรับผู้ที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น  ไม้หรือผ้า เพื่อใช้นำสายไฟนั้นให้พ้นจากตัวผู้ป่วยก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรใช้มือเปล่า หรือส่วนของร่างกายที่ไม่มีฉนวนหุ้มจับต้องกับตัวผู้ป่วยหรือสายไฟ
หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่ทราบวิธีช่วยเหลือ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ

ผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดอาจมีการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จากการพลัดตกจากที่สูง ทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่างๆ หัก เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา หรือกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุจึงต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการพิการ หรืออัมพาต ดังนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้เป็นผู้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากจุดเกิดเหตุ

3. ขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

เมื่อนำผู้ป่วยออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และทำการปั้มหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น (หากทำได้)

 

 

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟอยู่เสมอ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย

2. บริเวณที่วางสายไฟ ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับลงไป และวางให้พ้นทางเดิน

3. ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ

4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว

6. ต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟลงดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว

7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี

 อุบัติเหตุจากไฟฟ้าที่พบบ่อย

1. เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว และบริเวณนั้นมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น

2. การถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะทำอันตรายต่อการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

1. ต้องนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด

โดยต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดจากผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น ห้ามเข้าไปช่วยเพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้ 
เมื่อพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน สำหรับผู้ที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น  ไม้หรือผ้า เพื่อใช้นำสายไฟนั้นให้พ้นจากตัวผู้ป่วยก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรใช้มือเปล่า หรือส่วนของร่างกายที่ไม่มีฉนวนหุ้มจับต้องกับตัวผู้ป่วยหรือสายไฟ
หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่ทราบวิธีช่วยเหลือ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ

ผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดอาจมีการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จากการพลัดตกจากที่สูง ทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่างๆ หัก เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา หรือกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุจึงต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการพิการ หรืออัมพาต ดังนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้เป็นผู้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากจุดเกิดเหตุ

3. ขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

เมื่อนำผู้ป่วยออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และทำการปั้มหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น (หากทำได้)

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟอยู่เสมอ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย

2. บริเวณที่วางสายไฟ ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับลงไป และวางให้พ้นทางเดิน

3. ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ

4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว

6. ต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟลงดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว

7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี