ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ป้องกันการได้ยิน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ป้องกันการได้ยิน

วิธีการป้องกันเสียงดังมี 3 แบบหลักได้แก่

1. ป้องกันที่แหล่งกำเนิด เช่น การเปลี่ยนระบบการทำงานของแหล่งกำเนิด  การใช้วัสดุครอบแหล่งกำเนิด   เป็นต้น

2. ป้องกันที่ทางเดินของเสียง เช่น การติดตั้งกำแพงกั้นเสียง การทำให้ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดและผู้รับเสียงเพิ่มขึ้น  เป็นต้น

3. ป้องกันที่ผู้รับเสียง โดยการใช้อุปกรณ์ ที่ครอบหู (Ear muffs) หรือที่อุดหู (Ear plugs) เป็นต้น

การเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณที่มี  ลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา  ลักษณะของปัญหาที่เกิดในกรณีของการป้องกันที่ผู้รับเสียง  การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหู (Ear muffs) หรือที่อุดหู (Ear plugs) มาใช้ป้องกันเสียง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่น  แต่ควรมีหลักในการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับสภาวะทางเสียงในขณะนั้น เพราะถ้าเลือกซื้อไม่ถูกต้องอุปกรณ์ก็จะป้องกันเสียงได้ไม่มากหรือป้องกันไม่ได้เลย

 

ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันเสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1.ที่ครอบหู (ear muff)  ลดเสียงได้ตั้งแต่ 30-40 dB   ลดเสียงที่ความถี่สูงกว่า 400 Hz ได้ดี มี 2 ชนิด คือ แบบที่เป็นโลหะและที่เป็นพลาสติก

2.ที่อุดหู (ear plugs)  ลดเสียงได้ตั้งแต่ 15-25dB  ลดเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 400 Hz ได้ดี ทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น โฟม ใยหิน ใยแก้ว ฯลฯ

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆเหล่านี้

1.ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมที่กระทำ

2.ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสนทนาหรือสื่อสาร

3. ระดับเสียงที่ต้องการลด และ ความสามารถลดระดับเสียงของอุปกรณ์

 

ความสามารถในการลดเสียงของอุปกรณ์ป้องกันเสียง

การที่จะทราบว่าอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะลดระดับเสียงได้กี่เดซิเบลสามารถหาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

ระดับเสียงที่ได้รับขณะใส่อุปกรณ์  =  ระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์  –  derated NRR* – Co 

* derated NRR (Noise Reduction Rating) =   NRR – (K x NRR)/100

 

โดยค่า NRR(Noise Reduction Rating) คือค่าความสามารถในการลดเสียงของอุปกรณ์ซึ่งระบุจากโรงงาน ซึ่งค่านี้ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

ค่า K คือเปอร์เซ็นต์ของ NRR ที่ใช้ลบกับ NRR    ซึ่ง  National   Institute for Occupational  Safety and Health (NIOSH) ได้แนะนำความสามารถของอุปกรณ์แต่ละชนิดในการลดระดับเสียง ( ค่า K )  ไว้ดังนี้

K = 25 กรณีอุปกรณ์เป็นที่ครอบหู

K = 50 กรณีอุปกรณ์เป็นที่อุดหูทำจากโฟม

K = 70 กรณีอุปกรณ์เป็นที่อุดหูทำจากวัสดุอื่นๆสำหรับค่า

Co จะขึ้นอยู่กับช่วงความถี่ของเสียงที่ได้ยิน (Frequency) ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นช่วง ได้ดังนี้

Co = 0  กรณีระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ มีความถี่ของเสียง ในช่วงความถี่ C

Co = 7  กรณีระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ มีความถี่ของเสียง ในช่วงความถี่  A ซึ่งเป็นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน

ตัวอย่าง การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

มีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่มีป้ายแสดงค่า NRR  ดังรูป วัดเสียงเครื่องจักร ได้ 95 dB(A)อยากทราบว่าควรใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดใดเพื่อให้ได้รับเสียงรับเสียงจากเครื่องจักรไม่เกิน 70  dB(A)

วิธีทำ

เสียงที่ตรวจวัดได้ก่อนใส่อุปกรณ์เป็น 95 dB(A)

กรณีที่อุปกรณ์เป็นที่ครอบหู

NRR = 29

K = 25

Co = 7

Derated NRR =29 – (25×29)/100 =  21.75

เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่ครอบหู = 95 – 21.75 – 7 = 66 dB(A)

กรณีที่อุปกรณ์เป็นที่อุดหูที่ทำจากโฟม

NRR = 25

K = 50

Co=7

Derated NRR = 25 – (50×25)/100 = 12.5

เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่อุดหู = 95-12.5-7 = 75.5 dB(A)

 

นั่นคือ เหตุผลที่สมควรเลือก ที่ครอบหู 

 

ตารางแสดงมาตรฐานเปรียบเทียบระดับเสียงเฉลี่ย ที่ยอมรับได้กับเวลาการทำงานในแต่ละวัน

ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลา
การทำงานไม่จำนวนชั่วโมง
ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลา
การทำงานไม่เกินเดซิเบล(เอ)
1287
890
692
495
397
2100
1.5102

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ป https://nipponsafety.com/   https://thailandsafety.com/https://teamsafetysales.com/https://jorporsafety.com/

ทีมเซฟตี้เซลส์ขายส่งอุปรณ์เซฟตี้ ถูก และดี ครบจบที่เดียว
ประสบการณ์กว่า 20 ปี เรามั่นใจด้วยการบริการลูกค้ากว่า 500,000 ราย

Line : @aro1988r
Tel : 02-017-4242
www.supersafetythailand.com
Mail : teamsafetysales@gmail.com