มลพิษทางดิน คืออะไร

มลพิษทางดิน เรื่องใกล้ตัวสำหรับทุกคน

ทุกคนบนโลกต้องบริโภคพืชผักที่ปลูก แต่รู้หรือไม่คุณอาจเป็นหนึ่งในผู้บริโภคที่ได้รับสารเคมีทางดินผ่านพืชผักโดยไม่รู้ตัว เพราะปัจจุบันนี้มลพิษทางดินกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับสารพิษทางดินแม้ไม่ได้เหยียบย่ำดินโดยตรง เพียงแค่บริโภคสารเคมีที่ฝังอยู่ในผักไปเท่านั้น มลพิษทางดินจึงกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับทุกคนไปแล้ว

มลพิษทางดิน ปัญหาใหญ่ระดับประเทศ

เป็นระยะเวลาหลายสิบปีที่บ้านเราได้นำเข้าสารเคมีทางการเกษตรจากต่างประเทศเข้ามาให้กับเกษตรกรไทยใช้ สุดท้ายชีวิตเกษตรกรไทยต้องจบลงเพราะสารเคมีสัมผัสเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ส่วนผู้บริโภคคือผู้ป่วยรับชะตากรรมตายผ่อนส่งไปอีกหลายราย ทั้งหมดนี้คือผลกระทบจากสารเคมีที่ฝังลึกลงใต้ผิวดินมานานแสนนาน และคาดว่าคงส่งผลถึงรุ่นลูกหลานหากตอนนี้ยังไม่มีใครดูแลรักษาดิน ปัจจัยอันดับแรกสำหรับการปลูกพืชผักให้กับผู้บริโภคทั่วโลก

มลพิษทางดิน ไม่เพียงแต่มาจากสารเคมีทางการเกษตรอย่างเดียว หากมองให้ลึกลงไปมาจากสาเหตุโดยตรงจะมองเห็นว่าเป็นฝีมือมนุษย์แทบทั้งสิ้น เช่น การทำลายป่า การฝังกลบขยะมูลฝอย ฝังกลบขยะอิเล็กทรอนิกส์ การทำเหมือง การทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง การทำลายแหล่งน้ำ การทิ้งสารเคมี การรั่วไหลของน้ำมันจากยานพาหนะ ตลอดถึงสาเหตุทางอ้อม เช่น ฝนกรด (สาเหตุจากมลพิษทางอากาศ) สภาพทั้งหมดนี้ส่งผลให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ดินขาดธาตุอาหาร

ตัวอย่างมลพิษทางดินที่เห็นได้ชัดที่สุดคือดินในประเทศจีน ถูกสำรวจโดยกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของจีน ทำการสำรวจพื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศเท่ากับสิบล้านตารางไมค์ พบว่า 99.1% ของดินมีโลหะหนักปนเปื้อนถึง 20 ตัน (สาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศที่ลอยยาวนาน) และยังพบว่าอีก 19.4% ของพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรมีการปนเปื้อนสารเคมีซึ่งเกิดจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ที่ระบายของเสียลงสู่ผิวดินโดยตรง

ส่วนประเทศอินเดียในปี 2012 ถูกตรวจพบว่าในดินมีสารโลหะยูเรเนียมเกิน 50% ซึ่งเกินค่ามามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก สาเหตุเนื่องจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนปล่อยยูเรเนียมลงพื้นดินนั้นเอง

ผลกระทบต่อมนุษย์

มลพิษในดินที่น่ากลัวที่สุด คือ การพบเจอสารเคมีปนเปื้อนที่ตกค้างในดิน โดยถ่ายทอดสู่มนุษย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากต้องสัมผัสดินโดยตรงเป็นประจำที่มีสารเคมีปนเปื้อนประเภทเบนซินและพอลิคลอริเนตไบฟีนีล จะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งตับ ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมคือผู้ที่บริโภคพืชผลทางการเกษตรในดินที่มีสารเคมีหรือโลหะปนเปื้อน พืชเหล่านั้นจะดูดซับสารเคมีเก็บไว้ทางราก ลำต้น ใบ พืชผล สารโลหะหนักส่วนใหญ่ที่พบว่าตกค้างในดินและส่งผลต่ออันตรายแก่มนุษย์คือ สารตะกั่ว และสารปรอท หากรับประทานพืชที่แฝงด้วยโลหะปนเปื้อนชนิดนี้เป็นประจำ จะเกิดอันตรายต่อตับและไตในที่สุด

ผลกระทบต่อสัตว์

ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีสัตว์ชนิดต่าง ๆ ดำรงชีวิตในนั้นตลอดถึงจุลินทรีย์ในดิน หากพบว่ามีสารเคมีปนเปื้อนในดินจะส่งผลต่อสัตว์จำพวกลำตัวเป็นข้อปล้องและจุลินทรีย์ ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ต่างเป็นจุดเริ่มต้นระบบห่วงโซอาหารในธรรมชาติ หากห่วงโซ่อาหารถูกทำลายตั้งแต่ผู้ผลิตในลำดับแรกจะส่งผลต่อผู้บริโภคในลำดับขั้นต่อไป เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายและสูญพันธุ์ได้ในสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ

แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นคือสัตว์บางชนิดทนสภาพต่อสารเคมีแล้วมีชีวิตรอด เช่น กบ หอย ปู ปลา ที่อาศัยในน้ำ เมื่อมนุษย์จับสัตว์เหล่านั้นไปบริโภคเป็นประจำ จะส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้อีกทอดหนึ่ง สุดท้ายเมื่อมนุษย์สร้างสารเคมีทำลายธรรมชาติ ธรรมชาติก็ส่งต่อให้มนุษย์ในที่สุด

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เราอาจจะเข้าใจว่ามลพิษทางอากาศมีผลต่อดินได้ แต่ไม่ใช่เสมอไป เพราะสารเคมีที่ตกค้างและปนเปื้อนในดินก่อให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศและน้ำได้เช่นกัน เพราะในดินที่มีสารเคมีมากจนเกินไปจะทำให้ดินระเหยตัวเมื่ออากาศร้อน สารเคมีที่มีผลต่อสภาพอากาศมากที่สุดคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อในอากาศได้รับสารทั้งสองชนิดนี้มากเกินไปจะส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกได้ ส่วนสารประกอบของซัลเฟอร์ยังเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะฝนกรดด้วย เมื่อตกลงสู่พื้นดินที่อุดมสมบูรณ์จะทำให้ดินเปลี่ยนในทันที พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกจะด้อยคุณภาพลง เกิดมลพิษในน้ำตามมา เกิดปฏิกิริยาจำพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่อยู่ในดิน เมื่อมีปริมาณมากจะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้สาหร่ายในน้ำเติบโตได้รวดเร็วมีจำนวนมาก เกิดผลกระทบทำให้พืชในน้ำขาดออกซิเจนและตายได้ ระบบนิเวศในน้ำจะเปลี่ยนไป ต้นไม้ที่ดูดซึมน้ำจากบริเวณโดยรอบจะยืนต้นตายได้

แม้เราจะไม่ได้สัมผัสดินโดยตรงแต่เราสามารถดูแลรักษาดินได้โดยการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน ให้ต้นไม้ช่วยฟอกอากาศบริสุทธิ์ ไม่ส่งผลต่อดิน คัดแยกขยะก่อนการกำจัด ไม่ฝังกลบขยะอันตรายในดิน ตลอดจนถึงหน่วยงานอุตสาหกรรมต้องมีวิธีการกำจัดของเสียก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติทุกครั้ง

ปัญหามลพิษทางดินเป็นสิ่งที่คนบนโลกต้องใส่ใจไม่แพ้สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพราะมนุษย์ยังคงต้องพึ่งพาดินในการเพาะปลูกและหล่อเลี้ยงชีวิต ตามการคาดการณ์ไว้ว่าอีก 40 ปีข้างหน้าจะมีประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคน จึงจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอีกประมาณ 40% เพื่อให้เพียงพอต่อประชากรบนโลกที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมีเหลืออยู่เพียง 11% เท่านั้น เราทุกคนอยู่บนโลกต้องให้ความสำคัญและอนุรักษ์พื้นฟูดินให้มากที่สุด ถ้าตราบใดที่เราต้องใช้ ดิน น้ำ และอากาศหมุนเวียนเป็นวัฏจักรบนโลกใบนี้ เราควรจะรักษาไว้ในยั่งยืนที่สุด

อุปกรณ์ป้องกันมลพิษทางดิน

 

มลพิษทางดิน คืออะไร  ติดต่อ ทีมเซฟตี้เซลส์

Tel : 02-721-6923 Mail : teamsafetysales@gmail.com Line :@aro1988r