ความรู้เกี่ยวกับรองเท้าเซฟตี้

การเลือก “หนัง” รองเท้านิรภัย 

รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ ตามมาตรฐานทั้ง มอก. และ EN20345 ได้ กำหนดคุณสมบัติของหนังรองเท้านิรภัย ให้สามารถทำได้จาก หนังแท้หรือ หนังเทียม ซึ่งทำให้วัสดุที่ใช้ทำหนังรองเท้านั้นมีค่อนข้างหลากหลาย แต่เราสามารถสรุปวัสดุยอดนิยมที่ใช้ทำหนังรองเท้าได้ดังนี้

https://www.supersafetythailand.com/wp-content/uploads/2016/11/Banner-safety-shoe.jpg

 

หนังแท้

Natural dark black leather texture Natural pattern

หนังที่นิยมนำมาใช้ผลิตรองเท้านิรภัย มากที่สุดก็คือ “” เนื่องจากเป็นหนังที่มีความทนทานและราคาถูกที่สุดเมือเทียบกับหนังของสัตว์ประเภทอื่น หนังควายบางครั้งถูกนำมาใช้ทดแทนหนังวัวเนื่องจากมีราคาถูกกว่า และคุณสมบัติใกล้เคียงกัน โดยหนังแท้นั้น สามารถแบ่งย่อย ตามกรรมวิธีการผลิต

หนังเทียม (Synthetic Leather)

888

หนังเทียมเป็นหนังสังเคราะห์ ที่ไม่ได้ผลิตมาจากหนังสัตว์เลย แต่ผ่านการทำพื้นผิวเลียนแบบหนัง

 

มาตรฐานรองเท้านิรภัยยุโรป EN345

มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345

 

รองเท้านิรภัยคู่ใดจะได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน EN345 อันเป็นข้อบังคับหลักของยุโรปหรือเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 ซึ่งได้กำหนดขึ้นมาใหม่เมื่อเร็วๆ นี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

 

  1. หัวรองเท้า (Safety Toes) ต้องให้การป้องกันแรงกระแทก (Impact) สูงถึง 200 จูลได้
  2. ผ่านการทดสอบแรงบีบ (Compression Test)
  3. วัสดุส่วนบน (The Upper Material) ต้องมีคุณภาพและความหนาที่สามารถต้านทานการขัดสี (Abrasion Resistance) ในระดับที่กำหนดไว้
  4. พื้นรองเท้า ต้องมีความต้านทานความร้อน (Heat Resistance) ความต้านทานการขัดสี(Abrasion Resistance) การดูดซับแรงกระแทก(Shock Absorption) รวมทั้ง ความต้านทานทั้งน้ำมันและสารเคมีชนิดที่ได้กำหนดไว้แล้ว (Resistanceto both oil and certain chemicals)

มาตรฐานรองเท้านิรภัย ANSI Z41.1

 

ในประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานที่ใช้บังคับอุปกรณ์ป้องกันเท้าและขา คือ มาตรฐาน ANSI Z41.1-1991 และ ANSI Z41.1-1999 Reversion ใช้ฉบับใดก็ได้ถือว่ามีความทัดเทียมกัน จริงๆ แล้ว ANSI Z41.1-1999 Reversionก็เป็น ANSI Z41.1-1991 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั่นเอง และต่อไปนี้จะเป็นการสรุปสาระสำคัญของมาตรฐานทั้งสองฉบับรวมกันซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติของรองเท้านิรภัยไว้ 6 ประเด็น ได้แก่

  1. การต้านทานแรงกระแทกและแรงบีบ(Impact and Compression Resistance)

กำหนดให้รองเท้านิรภัยสำหรับใช้งานทั่วไปจะต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติของหัวรองเท้าที่ใช้ป้องกันนิ้วเท้าจากวัตถุที่ตกหล่นหรือกลิ้งทับ หัวรองเท้าแต่ดั้งเดิมจะทำด้วยเหล็กกล้าจึงเรียกติดปาก“หัวเหล็ก” (Steel Toes) ทั้งๆ ที่มาตรฐานนี้ไม่ได้บังคับให้ใช้เฉพาะหัวเหล็กเท่านั้น (ปัจจุบันหัวรองเท้าทำด้วยวัสดุไม่ใช่โลหะ อาทิเช่น “IronAge/Knapp” มีคุณสมบัติทัดเทียมกับเหล็กกล้าในการใช้ทำหัวรองเท้านิรภัยและได้รับการรับรองตาม มาตรฐานนี้เช่นกัน)หัวรองเท้านิรภัยที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ANSI Z41.1-1991 หรือANSI Z41.1-1999 Reversion จะต้องผ่านการทดสอบการต้านทานแรงกระแทกและแรงบีบที่เรียกว่า The ANSI Class ซึ่งมีตั้งแต่ Class 30,Class 50 และสูงสุด Class 75

ตัวอย่างการทดสอบหัวรองเท้า Class 75

ใช้วัตถุหนัก 50 ปอนด์ทิ้งลงมายังหัวรองเท้าในระยะความสูง 18 นิ้วหรือใช้แรงบีบ 2,500 ปอนด์โดยหัวรองเท้าต้องมีความต้านทานแรงกระแทกหรือแรงบีบดังกล่าวในระดับยอมรับได้ วัดจากการยุบตัวที่ทำให้มีช่องว่างระหว่างขอบหัวรองเท้าด้านบนกับพื้นรองเท้าลดลงไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ได้แก่ 16/32 นิ้ว (12.7 มม.) สำหรับหัวรองเท้าผู้ชาย และ 15/32 นิ้ว (11.9 มม.) สำหรับหัวรองเท้าผู้หญิง

 รองเท้าป้องกันกระดูกเท้าส่วนบน(Metatarsal Footware)

กำหนดให้รองเท้านิรภัยที่จะนำไปใช้ในบริเวณซึ่งมีความเสี่ยงที่กระดูกเท้าด้านบน (หลังเท้า) จะได้รับอันตรายจากวัตถุหล่นกระแทก โดยจะต้องมีแผ่นป้องกันกระดูกเท้าส่วนบน (หลังเท้า) นอกเหนือไปจากหัวรองเท้านิรภัย ทั้งนี้ สามารถติดตั้งได้ทั้งที่ด้านนอกหรือด้านในของตัวรองเท้า

 รองเท้าป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า (Electrical Hazard (EH) Footware)

กำหนดให้รองเท้านิรภัยที่จะนำไปใช้ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าต้องมีโครงสร้างพื้นรองเท้าสามารถลดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเมื่อสัมผัสกับวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยให้เป็นมาตรการป้องกันขั้นที่สอง (Secondary Protection) รองจากการปกคลุมหรือห่อหุ้มผิวด้านนอกตัวนำไฟฟ้าด้วยฉนวน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งรองเท้านิรภัยที่ใช้พื้นและส้นรองเท้าทำด้วยวัสดุไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า มีจุดประสงค์เพื่อนำไปสวมใส่ในบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่บนพื้นไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดหรือในลักษณะไหนก็ตาม เป็นการป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ถูกไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช๊อต ทั้งนี้ บริเวณดังกล่าวต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการหุ้มฉนวนไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

 รองเท้าตัวนำ (Conductive Footware)

กำหนดให้รองเท้าที่จะเป็นตัวนำ ต้องออกแบบให้มีการปล่อยไฟฟ้าสถิตจากร่างกายผู้สวมใส่ผ่านรองเท้าลงสู่พื้น ทั้งนี้ พื้นจะต้องเรียบเพื่อให้ไฟฟ้าสถิตกระจายตัวออกไปได้ง่าย จุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตเกิดการสะสมทั้งบนร่างกายและพื้นที่ทำงานซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระเบิดหรือลุกไหม้ ใช้สวมใส่เมื่อต้องเข้าไปทำงานในบริเวณที่มีวัตถุระเบิดหรือสารเคมีที่ระเบิดหรือลุกติดไฟได้ง่าย

 รองเท้าป้องกันการเจาะทะลุพื้นรองเท้า (Sole Puncture)

กำหนดให้รองเท้านิรภัยที่จะนำไปใช้ในบริเวณซึ่งมีความเสี่ยงที่พื้นรองเท้าจะถูกวัตถุแหลมคมเจาะทะลุ ต้องใช้พื้นรองเท้าที่มีคุณสมบัติป้องกันในระดับที่ยอมรับได้ อย่างน้อยจะต้องป้องกันการเจาะทะลุของสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปตามพื้นของสถานที่ทำงาน เช่น ตะปู เศษแก้วเศษโลหะ ฯลฯ

 รองเท้ากระจายไฟฟ้าสถิต (Static Dissipative (SD) Footware)

กำหนดให้รองเท้านิรภัยที่จะใช้เป็นทั้งรองเท้าตัวนำและรองเท้าป้องกันไฟฟ้าดูดในคู่เดียวกัน ต้องมีคุณสมบัติในการลดการสะสมสูงสุดของไฟฟ้าสถิตบนร่างกายได้ แต่ก็ยังมีไฟฟ้าสถิตในระดับสูงพอจะทำให้มีความต้านทานกระแสไฟฟ้าในอัตราที่กำหนดไว้ (อัตรากำหนดสำหรับการทดสอบ 106-109 โอห์ม) นั่นคือ รองเท้ากระจายไฟฟ้าสถิตจะต้องเป็นทั้งตัวนำไฟฟ้าสถิตและตัวต้านทานกระแสไฟฟ้าซึ่งสามารถสวมใส่เข้าไปในบริเวณที่มีความเสี่ยงทั้งสองลักษณะได้

 

สรุป

รองเท้านิรภัยคู่ใดก็ตามที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ANSI Z41.1-1991 และ ANSI Z41.1-1999 Reversion จะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการทดสอบข้อใดข้อหนึ่งใน 6 ข้อดังกล่าวข้างต้น โดยจะถือว่าเป็นรองเท้านิรภัยสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้นั้นเช่น รองเท้าที่มีคุณสมบัติและผ่านการทดสอบตามข้อ 1. คือ มีหัวรองเท้านิรภัยสามารถทนแรงกระแทกและแรงบีบตามที่กำหนดไว้ จะถือว่าเป็น “รองเท้านิรภัยสำหรับใช้งานทั่วไป” ตามมาตรฐานนี้ อย่างไรก็ตาม อาจมีคุณสมบัติและผ่านการทดสอบในมากกว่าหนึ่งข้อในคู่เดียวกันส่วนใหญ่จะเป็นข้อ 1. ร่วมกับข้อ 5. ทำให้รองเท้านิรภัยคู่นั้นมีทั้งหัวรองเท้านิรภัยและพื้นรองเท้าต้านทานการแทงทะลุซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของลูกจ้างจำนวนมากในปัจจุบัน

Save

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *